หน้าแรก
สำหรับ Tiktok
สมัครสินเชื่อต่างๆ
ลงทะเบียน สินเชื่อ
คำถามที่พบบ่อย
Privacy Policy
ติดต่อเรา
X
Blog Details
Home
Blog Details
01/05/2023
186 views
0
สอนคิดดอกเบี๊ย การชำระขั้นต่ำ สินเชื่อในระบบ 90% ใช้วิธีคิดแบบนี้ ดูเลย
คลิปนี้จะสอนวิธีการคิดดอกเบี๊ยสินเชื่อในระบบ ซึ่ง 90% ใช้วิธีนี้นะครับ โดยจะคิดให้ดูคราวๆเลยนะครับ แต่ก็จะต้องบอกก่อนว่า อาจจะไม่ตรง 100% นะ แต่ก็ใกล้เคียง ใครต้องการตรง 100% รบกวนไปถามที่ธนาคารเจ้าของสินเชื่อนะครับ
ต้นคลิปก็ขอสอนวิธีคิดดอกเบี๊ยแบบลดต้นลดดอก ของสินเชื่อหลายๆตัวก่อนเลยนะครับ เดี๋ยวเรื่องอื่นๆ ค่อยไปฟังช่วงหลังนะ
ก่อนอื่นเลย สินเชื่อในระบบจะใช้วิธีคิดดอกเบี๊ยเป็น % ต่อปี หรือ ร้อยละต่อปีนะ เช่น นาโนไฟแนนซ์ ดอกเบี๊ย 36% ต่อปี สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี ผมขอคิดแบบดอกเบี๊ยสูงสุดเลย ใครได้ดอกเบี๊ยเท่าไหร่ ก็กดเครื่องคิดเลขได้เลยนะ
อย่าง ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี กู้ 10,000 บาท วันนี้ ถ้าเราไม่ได้คืนเงินเลย เราจะโดนดอกเบี๊ย วันนี้ในปีหน้า หรือ 365 วัน พอดี เป็น 2,500 บาท หรือ คิดเงินต้นรวมดอกเบี๊ยคือ 12,500 บาท นะครับ ซึ่งถ้าคิดง่าย ผมให้จำไปเลยนะว่า
ดอกเบี๊ย 36 % ต่อปี กู้ 10,000 บาท ดอกเบี๊ยวันละ 10 บาท
ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี กู้ 10,000 บาท ดอกเบี๊ยวันละ 7 บาท
ถ้าเรากู้เงิน 10,000 บาท ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี เป็นเวลา 30 วัน เราก็โดนดอกเบี๊ยราวๆ 7 บาท X 30 วัน หรือราวๆ 210 บาท นั้นเองนะ
ถ้าเรากู้เงิน 5,000 บาท ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี เป็นเวลา 10วัน เราก็โดนดอกเบี๊ยราวๆ 3.5 บาท X 10 วัน หรือราวๆ 35 บาท นั้นเองนะ
ก็ลองเทียบบรรยัดไตรยาสอยู่นะครับ ไม่น่าจะยากเกินไปนะ
แต่ถ้าเราคิดว่า เรากู้ 10,000 บาท ดอกเบี๊ย 25% 1ปี หรือ
โดนดอกเบี๊ยราวๆ 7 บาท X 360 วัน หรือราวๆ 2520 บาท ผิดนะครับ คือวิธีคิดมันไม่ผิด มันผิดที่ เราไม่ได้คิดว่า เราต้องจ่ายเงินทุกงวดนั้นเองนะ เช่น เรากู้หมื่นบาท 12 เดือน ดอกเบี๊ย 25% เราจะต้องจ่ายเงินประมาณ 970 บาท ซึ่งในเดือนแรก เงินที่เราจ่ายไป 970 บาท จะเป็น ดอกเบี๊ย 210 บาท และ เงินต้น 760 ทำให้ เดือนที่ 2 เรามียอดที่ต้องจ่ายเหลือ 9240 บาท และโดนดอกเบี๊ยเป็น 6บาทนิดๆแทน โดยเฉพาะในเดือนท้ายๆ เราจะเหลือเงินต้นประมาณ 900 กว่าบาท แล้วพอสื้นงวด เงินต้นรวมดอกเบี๊ย ก็จะเป็น 970 บาท พอดีแปะ ประมาณนั้นนะครับ อาจจะบวกลบนิดหน่อย แต่ธนาคารเขามีโปรแกรม เราก็จะต้องจ่ายตามนั้น ซึ่ง เราก็จะไม่ขาดทุน ไม่กำไรนะครับ แต่ถ้าคุณคิดหลักเศษสตางค์ อาจมีการปัดขึ้นลง ก็มีผลนะ แต่ อย่าไปสนใจเลยจะดีกว่าครับ
ผลก็คือ แทนที่เราจะโดนดอกเบี๊ย 2500 เราจะโดนดอกเบี๊ยจริงๆ ราว 1400 เท่านั้นนะครับ
ส่วนสินเชื่ออีกประเภทนึงคือ สินเชื่อวงเงินพร้อมใช้ ก็จะคิดดอกเบี๊ยเป็นวันๆเหมือนกัน แต่การจ่ายเงินในทุกๆเดือน เราสามารถเลือกได้ว่า จะจ่ายขั้นต่ำ จ่ายตามใจ หรือ จ่ายปิดก็ได้ ซึ่ง
การจ่ายขั้นต่ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3-5% ของยอดเงินในรอบบิลนั้นๆ หรือ 1-3% ของเงินต้นบวกดอกเบี๊ย หรือสรุปก็ 3-5% เหมือนเดิมนั้นล่ะ และส่วนใหญ่จะหมดไปกับเรื่องดอกเบี๊ยอย่างเดียว
ส่วนการจ่ายตามใจ ก็จะเป็นการจ่ายที่มากกว่าขั้นต่ำ หรือเรียกว่าโปะก็ได้ ช่วยลดต้นให้หมดได้เร็วขึ้น แต่ไม่ใช่การปิดหนี้นะครับ
และสุดท้ายคือการจ่ายปิด ก็จะต้องจ่ายตามที่เขาระบุ หรือ ยอดคงเหลือเลยนะครับ ซึ่งการจ่ายปิด ยังไงเดือนหน้า ลองเช็คอีกรอบด้วย เพราะบางที อาจะมีดอกเบี๊ยหลงมาก็ได้ครับ จะได้ไม่พลาด
สำหรับวิธีการคิดดอกเบี๊ย และ ยอดการจ่ายขั้นต่ำนะครับ
สมมุติว่า ดอกเบี๊ย 25% วันที่ 1 เรายืมเงิน 10000 บาท และวันที่ 15 ยืมเงินอีก 10000 บาท ดอกเบี๊ยทั้งหมดจะกลายเป็น 315 บาท ใครสงสัยลองคำนวณเล่นๆดูก็ได้นะครับ
พอสิ้นเดือน วันที่ 30 เราต้องจ่ายขั้นต่ำ 5% ของเงินที่ยืมไป ซึ่งจะกลายเป็นยอด 20315 บาท คือยอดที่ยืม 10000 บาท 2 รอบ และ ยอด 315 คือดอกเบี๊ยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบบิลนี้ ถ้าเราจ่ายขั้นต่ำ หรือ 5% ก็ต้องคิดจาก 20315 เลย หรือ 1015.75 นะครับ ซึ่งเราจะจ่าย 1015.75 หรือ มากกว่านั้นก็ได้ ตามใจเราเลย
แล้วก็ยังมีกรณี บางสินเชื่ออาจจะมี ค่าธรรมเนียมในการคืนเงินเพิ่มเติมมาก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในช่องผมที่รีวิวไป ไม่ค่อยเจอเท่าไหร่ ถ้าจะเจอ ก็คงเป็น สินเชื่อรถ สินเชื่อบ้านบางธนาคาร ที่คิดค่าปรับเวลาคืนเงินเร็วเกินไปนะ
แต่ปัญหาจะเกิด ถ้าเราเจอสินเชื่อดอกเบี๊ยคงที่นะอย่าง สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเช่าซื้อ จะคิดเป็นแบบ ดอกเบี๊ยคงที่ ก็จะอธิบายให้ฟังเลย
สมุมติ ดอกเบี๊ยคงที่ 25% ต่อปี กู้ 10,000 บาท เราก็โดนดอกเบี๊ย 7 บาทต่อวัน เหมือนเดิม แต่ประเด็นคือ พอเราคืนเงินไปแล้ว เช่น 5000 บาท เราก็โดนดอกเบี๊ย 7 บาทเหมือนเดิม ถ้าเราคืนเงินไปแล้ว 9999 บาท เหลือ เงินต้น 1 บาท ดอกเบี๊ยก็ 7 บาท เท่าเดิมนะครับ ต้องปิดบัญชีเท่านั้น ดอกเบี๊ยจึงจะเหลือ 0 บาท ทำให้เราเสียดอกเบี๊ยมากกว่าที่ควรจะเป็นนั้นเอง
ทีนี้ถามว่า มีวิธีแปลงค่าดอกเบี๊ยคงที่ มาเทียบกับ ดอกเบี๊ยประจำหรือเปล่านะครับ ก็มีแน่นอน แต่มีข้อแม้คือ เราต้องจ่ายค่างวดเป็นปกติ ไม่ได้จ่ายโปะ หรือปิดก่อน เพราะถ้าเราจ่ายโปะได้ นั้นคือดอกเบี๊ยคงที่ จะแพงกว่าเดิมนะ
โดยปกติแล้วจะใช้วิธีคือ ดอกเบี๊ยคงที่ X 1.8 = ดอกเบี๊ยลดต้นลดดอก โดยจ่ายแบบ ตรงเวลา ไม่โปะ ไม่รีบปิดก่อนกำหนดนะ
เช่น ดอกเบี๊ยคงที่ 10% ต่อปี จะเท่ากับ ดอกเบี๊ยประจำที่ 18% ต่อปีเลยทีเดียว หรืออย่างพวกสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ ก็คิดดอกเบี๊ย 2% ต่อเดือน หรือ 24%ต่อปี แต่เป็นดอกเบี๊ยคงที่ พอมาคิดจริงๆ กลายเป็น 43.2% ต่อปี แพงกว่านาโนไฟแนนซ์อีก ใครมีเงินเดือน ไปกู้เงินสินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี๊ย 25% ต่อปี แบบ ลดต้นลดดอก ไปซื้อมอเตอร์ไซค์ จะดีกว่า แต่ก็บอกเลยว่า ร้านมอเตอร์ไซค์ มองตาขวางเลย เพราะกำไรจริงๆคือเรื่องดอกเบี๊ยมากกว่า ไม่ใช่เรื่องขายรถ
ก็หวังว่าคลิปนี้คงจะทำให้เข้าใจเรื่องวิธีการคิดดอกเบี๊ยได้แล้วนะครับ ใครสงสัยอะไร ก็คอมเม้นถามไว้ได้เลยนะ เพื่ออนาคต ผมจะได้เอามาอัพเดทกันใหม่นะครับ
Post Views:
239
ผ่อนยืมกู้ออม ปัญหาเรื่องเงิน
Leave a comment
ยกเลิกการตอบ
บันทึกชื่อ, อีเมล และชื่อเว็บไซต์ของฉันบนเบราว์เซอร์นี้ สำหรับการแสดงความเห็นครั้งถัดไป
ผ่อนยืมกู้ออม ปัญหาเรื่องเงิน